UV Lamp - Germicidal Lamp

 

หลอดไฟ UV. สำหรับฆ่าเชื้อ , UV Lamp , Germicidal Lamp

 

ใช้แทนหลอด T8/T12 ได้ แต่ ไม่สามารถใช้แทนหลอด T5 ได้

** T8 คือหลอด D=26 มม. ที่เรียกว่าหลอดผอม (หลอดปกติที่ซื้อขายกันทั่วไปขณะนี้)

    T12 ที่เรียกกันว่าหลอดอ้วน เป็นหลอดไฟสมัยก่อน ขณะนี้ประเทศไทยเลิกใช้แล้ว

    T5 คือหลอด D=16 มม. ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ รุ่นใหม่ (จะมีความยาวที่ต่างไป)

 

  • เป็นแสง สำหรับฆ่าเชื้อ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  • เป็นหลอดสำหรับงานจุลชีววิทยา อาทิ ห้องปลอดเชื้อ , ตู้ Laminar Air Flow  เป็นต้น
  • แสง UVC มีความเข้มแสงที่ลดลง ตามระยะห่างจากแหล่งกำเนิด การลดลงไม่เป็น Linear แต่มีลักษณะความเข้มแสงที่ลดลงเป็นอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน
  • แสง UVC 253.7 nm ไม่สามารถทะลุผ่าน กระจก , โพลีคาร์บอเนต 
  • แสง UVC 253.7 nm ไม่สะท้อนกระจกเงา
  • แสง UVC 253.7 nm สามารถทะลุผ่านถุงพลาสติกที่ใส่อาหาร (ถุงข้าวแกง , ถุงร้อน) ได้ , แต่ความเข้มแสงลดลงตามความหนาของถุงพลาสติก
  • แสงแดดช่วงกลางวัน (13.00 น.) ท้องฟ้าโปร่ง มีค่าความเข้มแสง UVC ประมาณ 12 uW/cm2
  • แสง UVC เป็นอันตรายต่อผิวหนัง การได้รับแสง UVC เข้มข้นนานๆ จะทำให้ผิวหนังไหม้ได้
  • ห้ามมองแสง UVC โดยตรง จะทำให้ดวงตาได้รับบาดเจ็บหรือตาบอดได้
  • การติดตั้ง ควรใช้ฐานหลอดไฟเฉพาะ ที่มีสัญลักษณ์แจ้งเตือนอันตราย เพื่อให้ผู้อื่นทราบ และเป็นจุดบ่งบอกให้ทราบว่าตำแหน่งนี้จะต้องติดตั้งหลอดไฟ UVC

 

 

 ข้อแนะนำในการเลือกขนาดความยาวหลอด :

 

1. ความโตของหลอด ( D ) สามารถใช้แทนกับหลอดไฟฟูออเรสเซนท์ หรือ หลอด UV. เดิมได้ ถึงความโตจะแตกต่างกันเล็กน้อย

2. ความยาว ของหลอด ให้วัดความยาวที่หลอดเดิมเป็นหลัก หรือวัดที่ความกว้างของขาใส่หลอดไฟที่รางหลอดไฟ

3. Guide line การเปรียบเทียบ ความยาวหลอด UV กับความยาวหลอดไฟแสงสว่างที่ใช้ในบ้านเรือน

3.1) " หลอดสั้น "    ( ปกติ ที่ใช้ในบ้านคือ หลอดอ้วน 20 W หรือ หลอดผอม 18W )  ความยาวปกติ 588-600 มม.  ใช้หลอด UV. Model G17W   สามารถนำไปเปลี่ยนใช้กับฐานหลอดเดิมได้

3.2) " หลอดยาว "  ( ปกติ ที่ใช้ในบ้านคือ หลอดอ้วน 40W หรือ หลอดผอม 36W )   ความยาวปกติ  1199 มม.      ใช้หลอด UV. Model G36W   สามารถนำไปเปลี่ยนใช้กับฐานหลอดเดิมได้

3.3) " หลอดประหยัดไฟ รุ่นใหม่ " ที่มีความโตของหลอด D = 16 มม.  หลอด UV. ในตารางด้านบนไม่สามารถนำไปใช้กับฐานหลอดเดิมได้ 

 

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  

1. ความเข้มแสง UVC ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพต่างๆ (Click Link)

2. VDO ทดสอบการวัดความเข้มแสง UVC จากแสงแดด (Click Link)

3. VDO ทดสอบ แสง UVC สามารถสะท้อนผ่านกระจกเงาได้หรือไม่ (Click Link)

4. VDO ทดสอบ แสง UVC สามารถทะลุผ่านถุงบรรจุอาหาร (ถุงข้าวแกง) / ถุง Zip ได้หรือไม่ (Click Link)